หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล ห้วยถั่วใต้ ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
 
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
 
 
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วใต้
นางดาวรุณี จันทร
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วใต้
ศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในตำบลห้วยถั่วใต้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ห้วยถัั่วใต้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยถั่วใต้
การส่งเสริมการประกอบอาชีพในตำบลห้วยถั่วใต้
นายมะลิ อินทรวิเศษ
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วใต้
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วใต้
ติดต่อ อบต.ห้วยถั่วใต้
1
2
3
4
5
 
 
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วใต้ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ยินดีให้บริการค่ะ
 
 


 
การป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกร  
 

    โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร(Africanswinefever:ASF) เป็นโรคไวรัสที่ติดต่อร้ายแรงในสุกรที่แพร่กระจายในภูมิภาคต่างๆทั่วโลกถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนแต่ก็ถือว่าเป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเป็นอย่างมากเนื่องจากหากมีการระบาดของโรคนี้ในประเทศแล้วจะกำจัดโรคได้ยากเพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันและควบคุมโรคในขณะที่เชื้อไวรัสที่ก่อโรคมีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมสูงสุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิตและยิ่งกว่านั้นโรคนี้เป็นโรคที่มีความความรุนแรงทำให้สุกรที่ติดเชื้อมีการตายเฉียบพลันเกือบ100%
     กรมปศุสัตว์จึงออกมาตรการเข้ม เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ (ASF) โดยกำหนดมาตรการ 7 ด้าน ดังนี้
1. เร่งรัดติดตามการขึ้นทะเบียนผู้รวบรวมสุกร หรือพ่อค้าคนกลาง (broker) ในแต่ละจังหวัดให้เสร็จโดยเร็ว
2. ปรับปรุงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายให้ง่ายต่อการปฏิบัติ และให้มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันโรค โดยผ่านคณะอนุกรรมการวิชาการ ให้ออกมาตรการโดยเร็วที่สุด
3. ชี้แจงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายสุกรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. กองสารวัตรและกักกัน ให้เข้มงวดการตรวจสอบสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรที่จะส่งออกไปต่างประเทศ โดยให้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ ด่านขาออก หากพบสัตว์ผิดปกติให้ดำเนินการตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดอย่างเข้มงวด
5. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน ASF
6. สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์รวบรวมและแจ้งรายชื่อโรงฆ่าสัตว์ที่สามารถรองรับการบริหารจัดการ การดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคภายในจังหวัด ส่งให้ปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการ
7. บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบการกระทำผิด แจ้งข้อมูลที่แอปพลิเคชั่น DLD 4.0 หรือสายตรงผู้บริหารกรมโดยตรง
    อย่างไรก็ตาม ขอให้เฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างเข้มงวด หากพบสุกรป่วยหรือตายผิดปกติให้แจ้งปศุสัตว์อำเภอ จังหวัด หรือสำนักควบคุมป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ สายด่วน Call Center 063-225-6888

 

ข่าว ณ. วันที่ 19 ส.ค. 2564 เวลา 15.26 น. โดย คุณ นายมะลิ อินทรวิเศษ

ผู้เข้าชม 303 ท่าน

 
 
 
 
 
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 086-208-5740
แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10